หากอยากเป็นหัวหน้ายุคใหม่ที่ดีจงทิ้งคำว่า "ลูกน้อง"

 หากอยากเป็นหัวหน้ายุคใหม่ที่ดีจงทิ้งคำว่า "ลูกน้อง"


    บทความนี้เขียนจากประสบการณ์โดยตรงของผมที่อยากจะแชร์ให้น้องๆ ที่ขึ้นมาเป็นหัวหน้ายุคใหม่ได้ลองนำไปปรับใช้กัน แต่เหนือสิ่งอื่นใดต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าใดๆในโลก ไม่มีสูตรสำเร็จโดยสมบูรณ์ มีแต่แนวทางที่จะนำไปปรับใช้ตามสถานณ์การให้เหมาะสมเพียงเท่านั่น ยิ่งเป็นตำแหน่งที่จะต้องบริหารทั้งคน ทั้งงานไปพร้อมๆกันด้วยนั่น ยิ่งต้องปรับวิธีคิดกันชอต ต่อ ชอต เลยครับ

    ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับนิยามของหัวหน้าในแต่ละยุคกันก่อน ในยุคเก่าหรือการบริหารงานแบบเก่านั่น หัวหน้าจะมุ้งเน้นไปยังการ "สั่งการ" และ "ควบคุม" ให้เนื้องานเป็นไปตามมารตฐานที่ต้องการ หัวหน้างานยุคนี้จะมีความเด็ดเดี่ยวมากครับ และมีแผนที่ตายตัว อำนาจการตัดสินใจจะตกอยู่ที่หัวหน้าแต่เพียงผู้เดียว ยุคนี้จะมีความเข้มงวด และมีความเป็นระเบียบมากๆครับ หัวหน้ายุคนี้ไม่ได้แย่ หากแต่ไม่เหมาะกับยุคสมัยในปัจจุบัน เพราะอะไรหน่ะหรือ เพราะในยุคที่มีข้อมูล ความรู้ และการแข่งขันที่สูงแบบนี้ จำเป็นมากๆครับ ที่จะต้องทำให้ทุกคนในทีม หรือในองค์กรแกร่ง มากกว่าที่จะให้หัวหน้า "แบก" แต่เพียงผู้เดียวครับ

    แล้วไอที่ว่าหัวหน้ายุคใหม่เนี่ยมันเป็นยังไง? ว่ากันตามตรงนะครับ เอาเข้าจริงๆ คนที่รับผิดชอบหน้างานนั่น ทำงานได้ดีกว่าตัวของหัวหน้าซะอีก หัวหน้าจึงต้องเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของตัวเองจากสั่งการ ให้กลายเป็น "อำนวยความสะดวก" เพื่อให้ทีมสามารถรีดประสิทธิภาพการทำงานออกมาได้ดีที่สุด ซึ่งนั่นหมายถึงการพยายามพลักดันอำนาจการตัดสินใจทั้งหลายลงไปยังทีมงาน มากกว่าที่จะเก็บไว้ที่ตัวเองครับ ยกตัวอย่างเช่น : การตัดสินใจหน้างาน หากจะต้องรอให้หัวหน้าตัดสินใจไปซะทุกเรื่อง รังแต่จะทำให้เสียเวลางาน และทำให้หน้างานเกิดบรรยากาศที่ไม่ดีขึ้นด้วยครับ

    สิ่งที่ควรทำคือต้องเชื่อใจทีมครับ จะเชื่อใจได้ต้องมีการโค้ชชิ่ง หรือการให้ความรู้กับทีมซะก่อน ในขณะเดียวกันก็ต้องคิดหาวิธีการ หรือเทคนิคที่จะทำให้งานนั่นง่ายขึ้น ดีขึ้น ได้ผลผลิตมากขึ้น นอกจากตัวของพนักงานจะเก่งแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการปลูกฝังจิตรสาธารณะ การเห็นอกเห็นใจ แก่เพื่อนมนุษย์และสังคมด้วยครับ

    หัวหน้า = กำจัดอุปสรรค อันนี้จะคล้ายๆอำนวยความสะดวก แต่จะยากกว่าเพราะอุปสรรคเหล่านี้มักจะแก้ด้วยวิธีปกติไม่ได้ แต่ต้องใช้บุญ-บารมี หรือความเก๋าเกมส์ในการแก้ปัญหาครับ แต่ต้องทำให้ทีมเข้าใจว่าจะใช้บ่อยๆไม่ได้ เพราะผลเสียจะเกิดที่ตัวหัวหน้าเอง ฮา

    ต้องหาจุดสมดุลของกรอบ และอิสรภาพครับ หากให้อิสระมากไป ไมม่มีกรอบ ทีมก็จะไร้ทิศทาง หากตีกรอบมากไป ก็จะส่งผลเสียให้ทีมถูกลดทอนประสิทธิภาพลง อันนี้ต้องทดลอง และฝึกซ้อมควบคู่กันไปครับ
จำไว้ว่า "ไม่มีใครอยากย่ำอยู่กับที่" และการไม่มีเป้าหมายก็จะทำให้ทีมขาดความกระตือรือร้น ต้องทำให้ทีมมีเป้าหมายของตัวเอง มีความคาดหวัง และมีเส้นทางการเติบโตสิ่งเหล่านี้ต้องทำทั้งแบบทางการ และไม่เป็นทางการควบคู่กันไปครับ 

    จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ผมกล่าวไปข้างต้นนั่นหัวหน้าจะเปลี่ยนบทบาทของตัวเองให้เปรียบเสมือนครู หรือโค้ชที่คอยสอนหรือเป็นเชียร์ลีดเดอร์ในการผลักดันทีมของตัวเองให้บรรลุเป้าหมาย สิ่งที่หัวหน้ามือใหม่ควรทำเป็นสิ่งแรกนั่นคือการเปลี่ยนวิธีคิด หรือทัศนคติของตัวเองใหม่ครับ เปลี่ยนลูกน้องให้กลายเป็นนักเรียน มองให้เป็นเพื่อนมนุษย์ที่เท่าเทียมกับเรา เลิกคิดว่าเราจะเก่งหรือเหนือกว่าเค้าไปซะทั้งหมด ลดความเป็นหัวน้า เพิ่มความเป็นมนุษย์ให้มากขึ้น เพียงแค่เปลี่ยนมุมมองชีวิตการทำงานของท่านๆ อาจจะดีขึ้นก็ได้ครับ

    สุดท้าย จริงๆแล้วมีอีกหลายข้อที่ข้ามไปแต่จะขอสรุปไว้สั้นๆ สำหรับคนมีเวลาอ่านน้อยครับ
1. เปลี่ยนจากสั่งการ เป็นอำนวยความสะดวก
2. สำคัญที่สุดคือทำไม รองลงมาคืออะไร และสำคัญน้อยสุดคือยังไง
3. เข้าใจบทบาทหน้าที่ของหัวหน้าใหม่ครับ ว่ามีหน้าที่ในการกำจัดอุปสรรคให้ลูกทีม
4. หาจุดสมดุลของกรอบ และอิสรภาพ
5. ให้ทุกคนในทีมเข้าใจ คาดหวังเส้นทางการเติบโต และเป้าหมายของตัวเอง
6. ให้ทุกคนเห็นว่าสิ่งที่ตัวเองทำอยู่นั่น จะสนับสนุนเป้าหมายใหญ่ขององค์กรได้อย่างไร
7. ไม่มีใครเก่งเกินที่จะขอความช่วยเหลือจากคนอื่นครับ







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

gene recombination (Genetic Recombination)

สารภี Mammea siamensis Kosterm.

ไลฟ์โค๊ช ? จุดเปลี่ยนในชีวิต ?